บทความนี้จะพูดถึงวิธีการสมัคร Payoneer อัพเตดปี 2020 วิธีการใช้งาน และข้อดีของการใช้ Payoneer ในการรับเงินจากการทำธุรกิจออนไลน์แบบไร้พรมแดน ใครที่สงสัยและต้องการเปรียบเทียบ Payoneer กับ Hyperwallet ก็คลิกลิงค์ไปอ่านกันได้เลย ส่วนตัวมี 5 เหตุผลที่มองว่า Payoneer ดีกว่า Hyperwallet หรือลองอ่านเพิ่มเติมหากท่านยังสงสัยว่า ทำไม BBL ถึงยกเลิกโอนเงินผ่านสาขานิวยอร์ก
หากพูดถึงระบบจ่ายเงินออนไลน์ระดับโลก แน่นอนว่า Payoneer เป็นหนึ่งในนั้นอย่างไม่ต้องสงสัยเลย แต่ถึงอย่างนั้นหลายๆคนก็อาจจะยังไม่รู้จักหรืออาจจะเคยได้ยินแค่ชื่อ อาจจะไม่รู้ว่าจริงๆแล้ว Payoneer มีการใช้งานในเว็บไซต์ระดับโลกมากมาย โดยเฉพาะ Amazon Marketplace ไม่ว่าจะขายแบบ FBA, FBM, หรือดรอปชิป ผมขอยกตัวอย่างในแต่ละวงการให้ดูนะครับ
- วงการซื้อขายออนไลน์ : Amazon, Walmart, LAZADA, Rakuten etc.
- วงการการตลาดออนไลน์: Google, Facebook etc.
- วงการที่พัก: Airbnb, HomeAway etc.
- วงการฟรีแลนซ์: Fiverr, Upwork, Freelancer etc.
- วงการคลังภาพ: Shutterstock, gettyimage etc.
- วงการอื่นๆ
สังเกตว่าผมใช้ etc. เพราะจริงๆมีอีกเยอะแยะมากมาย ใครอยากรู้ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมผ่านกูเกิ้ลเอาได้เลยครับ
ในบทความจะแบ่งเป็น 3 ตอน ใครสนใจอยากอ่านส่วนไหนก่อนก็กดที่ลิงค์ได้เลยครับ
-
ตอนที่ 1 เริ่มสมัคร Payoneer
-
ตอนที่ 2 วิธีใช้งาน Payoneer และการเชื่อมต่อ Amazon
-
ตอนที่ 3 ข้อดีอยากบอกต่อ Payoneer
**สมัครด้วยคอม**
**สมัครด้วยมือถือ**
**ถอนเข้าธนาคารอะไรได้บ้าง**
**[มือถือ] ถอนเข้าธนาคารอะไรได้บ้าง**
**5 เหตุผลทำไม Payoneer ดีกว่า Hyperwallet**
ตอนที่ 1: เริ่มสมัคร Payoneer
- คลิกตรงนี้เพื่อไปยังหน้าสมัครพร้อมรับเงินฟรี 35$
- คลิกตรง Sign Up & Get 35$* ตามรูป หากใครสะดวกหรือชอบใช้ภาษาไทย ให้เลือกที่มุมด้านบนขวา แล้วเลือกภาษาไทยนะครับ ในตัวอย่างผมเลือกใช้ภาษาอังกฤษ โดยส่วนตัวผมคิดว่าหากเราตั้งใจทำธุรกิจในต่างประเทศแล้ว การใช้ภาษาอังกฤษให้คุ้นเคย จะช่วยให้เราเข้าใจระบบต่างๆได้ดียิ่งขึ้นครับ
***สำหรับท่านที่มียอดโอนมากกว่า 2500$/เดือน จะมีสิทธิพิเศษเพิ่มเติม ติดต่อผมมาก่อนสมัครนะครับ***

3. เลือก Individual กรณีเราสมัครในนามบุคคล หรือเลือก company กรณีสมัครในนามบริษัท ซึ่งในตัวอย่างผมเลือก individual จากนั้นก็กรอกข้อมูลส่วนตัวให้เรียบร้อย ชื่อจริง นามสกุล อีเมล์ที่ใช้(ควรเป็นอีเมล์ที่ใช้ได้จริง เนื่องจากต้องยืนยันตัวตนด้วย) และวันเดือนปีเกิด

4. กรอกที่อยู่และเบอร์โทรติดต่อ

5. ตั้งค่าชื่อผู้ใช้ (ใช้อีเมล์ก็ได้) รหัสผ่าน, เลือกคำถามความปลอดภัยพร้อมคำตอบ (จดไว้ดีๆนะครับ กันลืม) และใส่เลขบัตรประชาชนในช่องล่างสุด

6. ใส่รายละเอียดบัญชีธนาคารในเมืองไทย สำหรับไว้รับเงิน ในตัวอย่างใส่บัญชีธนาคารกรุงเทพ คลิกยอมรับเงื่อนไข แล้ว SUBMIT เพื่อส่งใบสมัคร

7.เมื่อกดส่งใบสมัครแล้ว ทาง Payoneer จะส่งอีเมล์ยืนยันสถานะการสมัคร อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติ

8.และเราจำเป็นต้องเข้าไปกดเพื่อยีนยันการเป็นเจ้าของอีเมล์


9. หากไม่มีอะไรผิดพลาด ระยะเวลาการอนุมัติเร็วมากๆ เสร็จในวันนั้นครับ

——————————————————————————————————————-
ตอนที่ 2: วิธีใช้งานและการเชื่อมต่อกับ Amazon
หลังจากสมัครและได้รับการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว ก็ล็อคอินเพื่อเข้าไปดูรายละเอียดกันเลย ในเบื้องต้นเมื่อล็อคอินครั้งแรก ทาง Payoneer จะให้เราทำการตั้งคำถามรักษาความปลอดภัยเพิ่มอีก 2 คำถาม ย้ำ! อีกครั้ง จดเก็บไว้ให้ดี เพราะไม่เพียงแต่จะเป็นคำถามที่ป้องกันผู้อื่นขโมยบัญชีเราได้แล้ว ยังเป็นสิ่งที่จะช่วยยืนยันความเป็นเจ้าของที่แท้จริงของเราด้วย ณ วันแรกที่สมัครอาจจะไม่ได้สนใจอะไร แต่ลองนึกถึงวันที่มีเงินอยู่ในนั้นจำนวนมาก แต่ยืนยันความเป็นเจ้าของไม่ได้ดูครับ แล้วจะรู้สึก

ในหน้าหลักของ Payoneer จะมีหลากหลายเมนูที่ใช้ได้ แต่ผมจะเน้นตัวหลักๆที่ใช้บ่อยๆ โดยเฉพาะการรับเงินจาก Amazon หากลองล็อคอินและดูที่หน้าหลัก จากรูปจะเห็นว่าฟังก์ชันการใช้งานหลักๆก็จะอยู่หน้าแรกอยู่แล้ว สามารถเขาไปดูข้อมูลแต่ละเมนูกันได้เลย

- เมนู Global Service Payment
เป็นเมนูที่ไว้จัดการกับบัญชีธนาคารในแต่ละสกุลเงิน ที่ทาง payoneer เปิดบัญชีไว้ให้เรา มีหลากหลายสกุลเงินหลักๆ เช่น USD, EUR, GBP, JPY, CAD, AUD, CNH โดยค่าเบื้องต้นทาง Payoneer จะสร้างบัญชีสกุลเงิน USD, EUR และ GBP ให้เราก่อน หากเราต้องการสกุลเงินอื่นเพิ่มก็สามารถส่งขอไปทีหลังได้ มาถึงตรงนี้หลายคนสงสัยว่าทำไมต้องมีหลายสกุลเงิน คำตอบคือ หากเราทำธุรกิจที่จ่ายเงินรับเงินเป็น USD เราก็ควรใช้บัญชี USD เพราะจะไม่ต้องเสียค่าอัตราแลกเปลี่ยนนั่นเอง (จะพูดรายละเอียดเพิ่มเติมในตอนที่ 3)
เมื่อเราคลิกเข้าไปดูในสกุล USD จะพบรายละเอียดของบัญชีธนาคารของอเมริกา ในรูปคือ บัญชีที่ออกโดยธนาคาร First Century Bank มี routing number เลขที่บัญชี และชื่อของเรา ง่ายๆคือเหมือนเราเปิดบัญชีเงินฝากที่อเมริกาไว้เรียบร้อยแล้ว พร้อมรับเงินจาก Amazon แต่… ยังครับ เงินยังไม่เข้าแน่นอน เราต้องเอาไปใส่ในระบบของ Amazon ด้วย

หากคุณเคยใส่เลขที่บัญชีของธนาคารกรุงเทพสาขานิวยอร์ก อันนี้ก็เหมือนกันเลยครับ แค่ต่างกันที่รายละเอียดของบัญชี ขั้นตอนการเอาไปใส่ใน Amazon ก็ไปที่ Amazon Seller Central > Setting > Account Info > Deposit Methods หลังจากนั้นหาคำว่า Add new deposit method ครับ แล้วเลือก Amazon.com หลังจากในก็ใส่รายละเอียดบัญชีตามรูปด้านล่างเลยครับ หรือดูวิดีโอนี้

เมื่อใส่เสร็จแล้ว ก็รอเงินโอนเข้าจาก Amazon ครับ หากใครที่ขายในยุโรปและรับเงินเป็นสกุลยูโร ก็ควรใช้บัญชี EUR ซึ่งรายละเอียดของบัญชีก็จะแตกต่างออกไปอีก หลังจากเข้าไปเปลี่ยนบัญชีแล้ว บางกรณี อาจจะได้รับอีเมล์จาก Amazon เตือนว่า บัญชีของท่านได้มีการล็อคอินอย่างผิดปกติ พูดง่ายๆคือ เปลี่ยนบัญชีรับเงิน Amazon แล้วโดนแฮก
- เมนู Withdraw to Bank Account ถอนเงินเข้าบัญชี
เมื่อเงินโอนจาก Amazon เข้า Payoneer แล้ว เราสามารถเข้าไปถอนเงินเข้าบัญชีในเมืองไทยได้จากเมนูนี้ โดยเราสามารถเลือกได้ว่า ถอนจากบัญชีสกุลเงินอะไร จำนวนเท่าไหร่ โดยขั้นต่ำคือ 50 USD มากสุดคือ 60,500 USD ต่อครั้ง หากใครจำเป็นต้องถอนมากกว่านี้ก็ต้องลองติดต่อเจ้าหน้าที่ของ Payoneer ดูครับ ส่วนหากใครสงสัย ถอนเงิน รับเงิน Payoneer เข้าธนาคารอะไรได้บ้าง

- เมนู View Transaction
เป็นเมนูที่เอาไว้ดูประวัติการไหลเวียนของเงินว่ามีอะไรบ้าง เงินเข้ามาจากที่ไหน ถอนไปที่ไหน ใช้อะไรไปบ้าง อารมณ์สมุดบัญชีธนาคารนั่นแหละ ที่จะบอกเราว่ามีรายการอะไรเกิดขึ้นบ้าง

——————————————————————————————————————-
ตอนที่ 3: ข้อดีของ Payoneer ที่อยากบอกต่อ
ในตอนนี้คงไม่ได้เจาะลึกถึงทุกประเด็น แต่จะเน้นถึงสิ่งที่ชอบล่ะกันนะครับ
- พักเงินได้ รอถอนเมื่อได้เรทค่าเงินที่ดี (รอเงินบาทอ่อนค่า เพื่อจะแลกเงินบาทได้มากขึ้น)
จากที่ทาง Payoneer จะสร้างบัญชีในแต่ละสกุลเงินให้เราในต่างประเทศ เมื่อเงินโอนเข้า Payoneer เงินก็จะค้างอยู่ในบัญชีนั้นๆ เราจะถอนออกมาเมื่อไหร่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับเราเลย
ยกตัวอย่าง: Amazon.com โอนเงินเข้าบัญชี Payoneer (USD)
1-ตุลาคม-2018 => 10,000 USD (สมมุติค่าเงิน ณ ตอนนั้น 1 USD = 32.00 บาท)
16-ตุลาคม-2018 => 15,000 USD (สมมุติค่าเงิน ณ ตอนนั้น 1 USD = 32.50 บาท)
1-พฤศจิกายน-2018 =>15,000 USD (สมมุติค่าเงิน ณ ตอนนั้น 1 USD = 32.75 บาท)
หากเราต้องการถอน ณ วันที่ 9-พฤศจิกายน-2018 เราจะมีเงินในบัญชี Payoneer ทั้งหมด 40,000$ สมมุติเรทเงิน ณ วันนั้น 1 USD = 33 บาท เท่ากับว่าเมื่อเราถอนเงินเป็นเงินไทย เราจะได้เงินมากกว่าเดิม หากเทียบกับการถอนเงินออกทันทีเมื่อได้รับเงินจาก Amazon อย่างไรก็ตามวิธีนี้ก็มีความเสี่ยงที่เงินบาทจะแข็งค่า ซึ่งทำให้แลกได้เงินบาทน้อยกว่าเดิมเช่นกัน วิธีนี้จะเหมาะกับคนเข้าใจระบบอัตราแลกเปลี่ยน เช่น บางคนอาจจะเทรดอยู่ในตลาด Forex อีกอย่างวิธีนี้อาจจะไม่เหมาะ ถ้าคุณจำเป็นต้องนำเงินออกมาหมุนทุกครั้ง
วิธีเช็คค่าเงินง่ายๆก็ เสิร์จผ่าน Google ได้เลยครับ โดยพิมว่า 1 USD to THB ในตัวอย่างด้านล่างจะเห็นได้ว่าค่าเงิน USD นั่นอ่อนค่าลงมาในช่วงเดือน มกราคม 2019 เราอาจจะเลือกพักเงินไว้ก่อน หากเรามั่นใจว่าเดือน กุมภาพันธ์ มีนาคม ค่าเงิน USD จะกลับมาแข็งค่าเหมือนเดิม (หรือเงินบาทจะอ่อนค่า)

- เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นขาย
สืบเนื่องจากหัวข้อก่อนหน้า ในเรื่องของการพักเงินได้ จึงทำให้เหมาะสำหรับนักขายหน้าใหม่ที่มียอดโอนยังไม่เยอะ ซึ่งคุณสามารถพักเงินไว้ก่อนได้ และค่อยถอนออกเมื่อมีเงินเยอะจำนวนหนึ่ง
- ตั้งถอนอัตโนมัติได้
ส่วนตัวผมเองก็ยังไม่เคยใช้การตั้งการถอนอัตโนมัตินะ เพราะผมชอบการเข้าไปเช็คตัวเองเอง เช็คเรทค่าเงินเอง แล้วก็อนุมัติการถอนเอง แต่ผมอยากจะแนะนำสำหรับหลายๆคน ซึ่งคิดว่าน่าจะมีประโยชน์เป็นอย่างมาก บางคนไม่มีเวลาเข้าไปดูยอดเงิน ไม่มีเวลาเข้าไปกดถอนเอง ก็ตั้งให้มันถอนอัตโนมัติซะเลย การตั้งค่าก็ไปที่เมนู Withdraw >> Automatic Withdraw หลังจากนั้นจะขึ้นหน้าต่างเหมือนรูปด้านล่าง เราเลือกได้ว่าจะให้ตั้งค่าถอนจากบัญชีไหน และถอนบ่อยแค่ไหน เช่น Immediate หมายถึงการตั้งให้ถอนเงินเข้าบัญชีในไทยทันทีที่ Payoneer ได้รับเงินจาก Amazon (1 ครั้งทุก 24 ชั่วโมง) หรือจะถอนอาทิตย์ละครั้ง (weekly) โดยเลือกได้ว่าถอนวันไหน เช่น ทุกวันจันทร์ เป็นต้น หรือจะตั้งแบบถอนเดือนละ 1 ครั้ง (monthly) ทุกครั้งที่ระบบถอนเงินให้ จะมีอีเมล์แจ้งเดือนให้คุณได้รับทราบ หรือคุณจะเข้าไปดูเองผ่านทางเมนู View Transaction ก็ได้ครับ

ก่อนการตั้งค่าการถอนแบบอัตโนมัติ ผมแนะนำให้ลองถอนเองก่อนสักครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าเงินเข้าไปบัญชีในไทยได้จริงๆ และโดยทั่วๆไปแล้วทุกการถอนจะใช้เวลาโดยประมาณ 3-5 วัน เงินถึงจะเข้าบัญชีในไทย บางครั้งก็เร็วกว่านั้นครับ ข้อดีอีกอย่างคือ หากคุณมีหลายสกุลเงิน ก็ตั้งการถอนอัตโนมัติได้สำหรับแต่ละสกุลเงินได้เลย และคุณก็ยังสามารถตั้งค่าได้ว่าจะให้เหลือเงินไว้ใน payoneer เท่าไหร่ ซึ่งถ้าไม่ตั้งไว้ payoneer ก็จะถอนเข้าบัญชีไทยทั้งหมด หากยอดยังเกินขั้นต่ำที่ถอนได้ครับ หากใช้วิธีนี้แล้วไม่ชอบก็ยังยกเลิกหรือตั้งค่าใหม่ได้ทุกเมื่อ ดูแล้วก็สะดวกดีนะ ต้องลองดูกันเอาเอง
- เข้าถึงทีม support ได้ง่าย
ส่วนตัวผมคิดว่าธุรกิจบริการ เรื่อง support เป็นสิ่งสำคัญมากๆ หากเมื่อเรามีปัญหาแล้วไม่มีทีมที่คอยดูแลลูกค้าตรงนี้ หรือระบบไม่รองรับตรงนี้ จะยิ่งทำให้ไม่อยากใช้บริการสักเท่าไหร่ แต่สำหรับ payoneer เท่าที่ลองใช้งาน Support Center ถือว่าทำได้ดีมากครับ ทั้งฐานข้อมูลที่รวบรวมคำถาม คำตอบ จากกลุ่มผู้ใช้งาน Payoneer การแชทคุยกับทีมงาน โทรคุย หรือส่งเมสเสจ ก็ถือได้ว่าครบครัน จริงๆก็ยังมีเพจบน facebook ที่ผมก็ลองติดต่อมาแล้ว แต่เป็นเพจหลักที่ติดต่อด้วยภาษาอังกฤษ แต่ดูเหมือนว่าทาง Payoneer ได้เริ่มต้นสร้างทีมงานในเมืองไทยแล้ว คิดว่าน่าจะดีสำหรับคนไทยไม่น้อยเลย

** ใครมีบัญชี Amazon ที่ไม่ใช้หรือมีเพื่อนที่เลิกขาย สามารถติดต่อขายต่อบัญชี ผ่านไลน์ @vas247 ได้ครับ**
ยิงโฆษณาขายดีแต่ขาดทุนต้องอ่าน ขายได้เยอะแต่ยังขาดทุน ค่า ACoS คืออะไร
ใครต้องการดู สอน สมัคร Amazon Seller ล่าสุด อัพเดต 2019 แบบละเอียด
เพิ่มยอดขายต้องอ่าน 19 เทคนิค ทำแล้วขายดี Amazon สำคัญมากๆ
ใครเคยโดนแบนหรือไม่อยากโดนแบน อ่าน 7 สาเหตุโดน Amazon แบน รู้ไว้ไม่โดนแบน
ฝากกดไลค์ กดติดตาม VAS247
ยังมีบทความดีๆอีกเพียบ
I can not withdrowal money from payoneer how to do
ลองดูตามนี้ครับ https://www.youtube.com/watch?v=ZpOrV2yasqI หากไม่ได้เพราะเป็นที่บัญชีต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ครับ
สมัครแล้ว Bank Name = Bank of America ไม่ใช่ First Century Bank ตามคลิปที่สอน สามารถแก้ไขอย่างไรคะ
ไม่เป็นไรครับ เพราะมันแล้วแต่ว่าทาง Payoneer สร้างบัญชีธนาคารอะไรให้เรา เราแค่เอาชื่อบัญชี เลข routing แล้วก็เลขที่บัญชีใส่ในระบบครับ (Bank Name ไม่ได้ใช้)
มีลิมิขั้นต่ำในการใช้มั้ยคะ