หากพูดถึงคำว่า Marketplace หลายคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าหมายถึงอะไร แต่ในชีวิตประจำวันกลับเกี่ยวข้องกับ Marketplace โดยตรง ง่ายๆเลยเช่น การซื้อสินค้าออนไลน์ผ่าน Lazada หรือ Shopee
1.
แล้ว Marketplace มันคืออะไร?
เบื้องต้นจะกล่าวถึงแค่ส่วนออนไลน์ ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่รวมสินค้าหรือบริการไว้ในที่เดียว โดยสินค้าและบริการเหล่านั้นมาจากบุคคลที่ 3 ขณะที่เมื่อเกิดการซื้อขายเกิดขึ้น ทาง Marketplace จะเป็นคนเก็บเงินจากลูกค้าเอง แล้วนำเงินนั้นแบ่งกันระหว่างเจ้าของ Marketplace กับบุคคลที่ 3 ตามสัดส่วนที่ตกลงกันไว้ สินค้าที่ซื้อขายก็จะส่งจากบุคคลที่ 3 หรือจากทาง Marketplace ไปยังลูกค้าโดยตรง ด้วยระบบนี้ทำให้สินค้าและบริการที่อยู่บน Marketplace จะมีความหลากหลายมากๆ มีแทบทุกหมวดสินค้า
2.
ยกตัวอย่าง Marketplace ระดับโลกให้ดูหน่อย
เอาแบบที่รู้จักคุ้นหูกัน ก็
– Amazon
– eBay
– Walmart
– Etsy
– Jet
– Bonanza
– Wish
– Alibaba
– JD
– Flipkart
– Rakuten
– Lazada
– Shopee
และอีกนับร้อยที่ไม่ได้กล่าวถึง อยากรู้ก็ลองเสิร์จกูเกิ้ลดูเอาได้
3.
เราเป็นได้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายบน Marketplace
เนื่องจากระบบออกแบบมาเอื้อสำหรับบุคคลที่ 3 ที่สามารถนำสินค้าหรือบริการไปวางขายได้ และขณะเดียวกัน ผู้ขายก็สามารถซื้อสินค้าบน Marketplace นั้นได้ บาง Marketplace ที่ใหญ่ระดับโลกอย่าง Amazon ผู้ซื้ออยู่ทั่วโลก ในขณะที่ผู้ขายก็กระจายอยู่ทั่วโลกเช่นเดียวกัน ทำให้รายได้ทะลุระดับล้านล้านอย่างไม่ต้องสงสัย
4.
แล้ว Marketplace มีข้อดีอะไรหรอ สำหรับคนที่อยากขายของ?
=> มีฐานลูกค้าอยู่แล้ว ไม่ต้องเหนื่อยแรงในการหาลูกค้าเข้าเว็บ อย่าง Amazon มีลูกค้าเข้าเว็บไซต์หลักล้านคนต่อวัน คุณแค่ต้องทำให้ลูกค้าเหล่านี้เห็นสินค้า และซื้อสินค้าของคุณ
=> ใช้ทุนที่ต่ำ เพราะ Marketplace สร้างระบบไว้แล้ว การจัดการเรื่องคำสั่งซื้อ ทำSEO หรือ โฆษณาให้ผู้ซื้อจากด้านนอกเข้ามาซื้อสินค้าผ่าน Marketplace ในขณะที่ผู้ขายเพียงแค่สร้างบัญชีขายบน Marketplace ลงสินค้าที่จะขาย และส่งสินค้าให้ลูกค้าเมื่อขายได้นั่นเอง
=> สร้างยอดขายได้ง่าย เพราะด้วยชื่อเสียงของ Marketplace ทำให้ลูกค้ามาเจอแบรนด์คุณได้ง่ายขึ้น ต่างจากการสร้างเว็บไซต์เอง ที่ต้องลงทุนลงแรงค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะการทำให้ลูกค้ามาเจอเว็บไซต์และเชื่อถือในการสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์
=> น่าเชื่อถือทั้งในแง่ของผู้ซื้อและผู้ขาย ด้วยระบบการจ่ายเงินที่ปลอดภัยสูง ด้วยความน่าเชื่อถือของ Marketplace ทำให้แบรนด์หรือสินค้าที่อยู่บนนั้นน่าเชื่อถือไปด้วยในตัว อย่าง Amazon เอง ผู้ซื้อบางรายแทบจะไม่ได้ดูด้วยซ้ำว่าใครเป็นผู้ขาย ส่งจากที่ไหน ขอเพียงแค่เขาซื้อบน Amazon ก็อุ่นใจในระดับหนึ่งแล้ว (แต่ก็ไม่ใช่ลูกค้าทุกคนที่คิดแบบนี้นะ)
=> ขายสินค้าได้ทั่วโลก หลักๆแล้วหากใช้ภาษาอังกฤษได้ ก็สามารถลงสินค้าขายได้ทั่วโลก เพราะตัว Marketplace เองนั้นมีรองรับทั่วโลก อย่าง Amazon ก็มีทั้งใน USA, Canada, UK, EU, Japan ผู้ขายบางรายก็ทำการตลาดในหลายๆ Marketplace เช่น บางคนก็ขายทั้งใน Amazon, eBay, Etsy, Lazada ขายมันทุกที่ที่ทำเงินได้
=> ไม่ต้องเก่ง IT ไม่ต้องเก่งคอมมากๆก็ทำได้ เพราะระบบมันทำไว้ให้หมดแล้ว แค่ศึกษาวิธีการก็ลงขายสินค้าได้แล้ว ต่างจากเว็บไซต์ตัวเองที่ต้องดูแลหลายส่วนมากๆ
=> มีระบบที่จัดการคำสั่งซื้อให้คุณได้ด้วย อย่าง Amazon ที่มี Fulfillment Center ที่สามารถส่งของไปสต็อคไว้ก่อนได้เลย หากมีการสั่งซื้อ ทาง Amazon ก็จะเป็นคนจัดการให้เราเอง
5.
แล้วมีข้อเสียป่ะ แน่นอนทุกอย่างย่อมมีด้านดีและด้านไม่ดี
=> อย่างแรกเลยคือ มันจะไม่ใช่ร้านของคุณเอง และก็ไม่ใช่ลูกค้าของคุณเองเช่นกัน วันดีคืนดีอยากขายสินค้าบนเว็บไซต์ตัวเอง ปรากฎว่าไม่มีฐานลูกค้าเลยนี่หว่า และที่ต้องระวังในทุก Marketplace คือ ห้ามดึงลูกค้าไปซื้อขายด้านนอก เพราะอาจจะผิดกฎได้ ก็แหง๋หรอกเขาทำให้คุณเจอลูกค้าบน Marketplace ก็ควรซื้อขายบน Marketplace เขาสิ การเปลี่ยนไปขายเองบนเว็บไซต์ตัวเอง ก็เหมือนการเริ่มต้นใหม่เลย ผู้ขายจำนวนมากเลยทำควบคู่กันไป
=> โดนเก็บค่าธรรมเนียมส่วนแบ่งที่แพง เพราะมันคือรายได้หลักของ Marketplace โดยทั่วๆไปก็อยู่ในช่วง 10%-40% ขึ้นอยู่กับสินค้าและอื่นๆ หมายความว่า หากคุณขายสินค้า 100 บาท คุณต้องแบ่งให้กับ Marketplace 20 บาท เหลือเงินที่คุณจะได้จากการขายจริงๆคือ 80 บาท หากต้นทุนของคุณคือ 50 บาท กำไรของคุณคือ 30 บาท ในขณะที่ถ้าคุณขายบนเว็บไซต์ตัวเอง ก็ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตรงนี้
=> การแข่งขันสูงมากกกก เติม ก หลายตัว เพราะอะไรนะหรือ คิดง่ายๆ สินค้าคล้ายๆกัน แบบเดียวกัน จะโดนรวมมาไว้ใกล้ๆกันเมื่อลูกค้าค้นหา ทำให้โอกาสที่คุณจะขายได้นั้นก็ลดน้อยลงไปด้วย จำเป็นมากๆที่คุณจะต้องหาสินค้าที่เฉพาะ เพื่อกำจัดจุดอ่อนตรงนี้ออกไป
=> เสี่ยงสูง วันนี้คุณอาจจะมียอดขายเดือนละ 1 แสนบาท แต่วันพรุ่งนี้อาจจะเป็นศูนย์เลยก็ได้ หากร้านที่ขายอยู่มีปัญหา ทำผิดกฏ หรืออะไรก็ตามแต่ ที่ทำให้ทาง Marketplace ไม่แฮปปี้ เขาพร้อมแบนคุณได้เสมอ มันจึงเป็นความเสี่ยงที่ต้องทำใจ และต้องระมัดระวังกันเอง
=> ได้รับเงินช้า เพราะทาง Marketplace จะเก็บเงินจากลูกค้าไว้ที่เขาก่อน แล้วค่อยจ่ายให้กับผู้ขายตามรอบไป เช่นทุกๆ 15 วัน ทุกๆ 1 เดือน เป็นต้น
6.
ทำไมยอดขายบน Amazon Marketplace ถึงมหาศาลมากๆ
ไม่ต้องสงสัยเลยสำหรับกลุ่มผู้นำอย่าง Amazon ลองคิดถึงพวกแบรนด์สินค้าระดับโลกที่รู้จัก แล้วลองเอาชื่อไปค้นหาในเว็บไซต์ Amazon ดูสิ เจอแทบทุกแบรนด์ จะไม่ให้ Amazon มีรายได้ระดับล้านล้านได้อย่างไร มองเหมือนน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า พวกแบรนด์ดังๆเหล่านี้ก็ใช้ชื่อ Amazon และช่องทาง Amazon เพื่อสร้างยอดขาย ขณะที่ Amazon เองก็ได้ส่วนแบ่งจากการขายสินค้า (Win-Win) แบรนด์บางแบรนด์ที่ได้รับการจดจำบน Amazon แล้ว ยอดขายที่ขายได้บน Amazon อาจจะมากกว่ายอดขายจากหน้าร้านหรือช่องทางเว็บไซต์ของตัวเองเสียอีก
7.
รู้หรือไม่?
นี่ถ้า Jeff Bezos เจ้าของ Amazon ไม่ได้หย่ากับภรรยาและไม่ต้องแบ่งทรัพย์สินกัน คงอยู่เป็นบุคคลที่รวยอันดับหนึ่งของโลกไปอีกสักพักเลย
8.
รู้หรือไม่?
หลังจากภรรยาหย่าแล้ว ก็ได้กลายเป็นผู้หญิงที่รวยที่สุดในโลกไปเลย ฮา
9.
ลองตอบตัวเองว่าตอนนี้คุณอยู่ใน Marketplace ไหน เป็นผู้ซื้อหรือเป็นผู้ขาย